วันอังคารที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2559

      พายุ คือ ลมที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง อันเนื่องมาจากอากาศ 2 บริเวณ มีอุณหภูมิแตกต่างกันอย่างมาก อากาศร้อนจะลอยตัวสูงขึ้น อากาศในแนวราบที่อุณหภูมิต่ำกว่าจึงเข้ามาแทนที่ ทำให้เกิดการหมุนของอากาศจนส่งผลให้เกิดเป็นพายุ

พายุแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้ดังนี้
1. พายุฝนฟ้าคะนอง (Thunderstorm)
เป็นพายุที่เกิดขึ้นได้ในบริเวณที่มีอากาศร้อน และมีความชื้นมากพอสมควร โดยมากเกิดในเขตร้อนแถบเส้นศูนย์สูตร เมื่ออากาศได้รับความร้อนและลอยตัวสูงขึ้น และมี ไอน้ำในปริมาณมากพอ ประกอบกับการลดลงของอุณหภูมิ จึงเกิดการกลั่นตัวควบแน่นของไอน้ำ เกิดเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง มักจะมีทั้งลมแรง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และมีฝนตกหนัก เกิดขึ้นพร้อมกัน

2. พายุหมุนเขตร้อน (Tropical cyclone)
เป็นพายุหมุนที่เริ่มก่อตัวจากหย่อมความกดอากาศต่ำที่เกิดขึ้นในเขตร้อนบริเวณเส้นศูนย์สูตร โดยมากมักเกิดบริเวณผิวน้ำทะเลและมหาสมุทรที่มีอุณหภูมิของน้ำสูงกว่า 27 องศาเซลเซียส มีลักษณะเป็นพายุหมุนขนาดใหญ่ ที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 100 กม. ขึ้นไป เกิดขึ้นพร้อมกับลมที่พัดรุนแรงมาก ลมที่พัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางจะมีทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกาหากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตร และจะหมุนตามเข็มนาฬิกาหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตร ยิ่งใกล้ศูนย์กลางลมจะหมุนเกือบเป็นวงกลมและมีความเร็วสูงที่สุด อยู่ที่ประมาณ 120 – 200 กม. / ชม.

ในการพิจารณาความรุนแรงของพายุ จะใช้เกณฑ์ความเร็วลมสูงสุดที่บริเวณใกล้ศูนย์กลางพายุ แบ่งได้เป็น
1. พายุดีเปรสชั่น (Tropical depression)
เกิดขึ้นจากพายุโซนร้อนที่มีความเร็วลดลง โดยมีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางไม่ถึง 63 กม./ชม. (34 นอต) ก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก มีลมกรรโชกแรงเป็นครั้งคราว มีกำลังไม่แรงพอที่จะทำลายบ้านเรือนได้ แต่ถ้ามีฝนตกหนักมากๆ อาจจะทำให้เกิดน้ำท่วมได้
พายุระดับนี้จะเห็นเป็นกลุ่มเมฆหนาทึบ เป็นวงกลม ยังไม่มีแนวขดเป็นเกลียว หรือ ตาพายุ ชัดเจน

2. พายุโซนร้อน (Tropical storm)
เกิดขึ้นเมื่อพายุหมุนเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลงขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 63 กม./ชม.ขึ้นไป (34 นอต) แต่ไม่ถึง 118 กม./ชม. (64 นอต) มีกำลังแรงพอที่จะทำลายบ้านเรือนที่มีโครงสร้างไม่แข็งแรงได้ รวมทั้งทำให้กิ่งไม้หักโค่น และทำให้เกิดน้ำท่วมได้ ฝนที่ตกอย่างหนักทั้งวันทั้งคืนอาจทำให้เกิดน้ำป่าและแผ่นดินถล่มได้
พายุระดับนี้อาจเริ่มเห็นเกลียวแขนของกลุ่มเมฆบ้าง

3. พายุไต้ฝุ่น หรือ เฮอริเคน (Typhoon or Hurricane)
มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางตั้งแต่ 118 กม./ชม. ขึ้นไป (64 นอต) มีระดับความรุนแรงมากที่สุด สามารถทำให้เกิดความเสียหายแก่บ้านเรือน อาจทำให้เสาไฟฟ้าหักโค่น เกิดไฟฟ้าช็อตหรือเพลิงไหม้ได้ ในทะเลมีคลื่นลมแรงจัดมาก เป็นอันตรายต่อการเดินเรือ โดยเฉพาะเรือเล็ก และอาจมีคลื่นใหญ่ซัดชายฝั่ง ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากจนท่วมอาคารบ้านเรือนริมทะเลได้
พายุระดับนี้มักจะเกิด “ตาพายุ” ขึ้นตรงศูนย์กลางพายุ เป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำมากที่สุด ลมสงบ ท้องฟ้าโปร่ง อาจมีเมฆและฝนบ้างเล็กน้อย ส่วนรอบๆ จะเป็นบริเวณที่มีลมพัดแรงจัด มีเมฆครึ้ม มีฝนตกพายุรุนแรง

สำหรับพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นพายุดีเปรสชัน เนื่องจากพายุได้อ่อนกำลังลงก่อนถึงประเทศไทย ส่วนพายุที่มีกำลังแรงขนาดพายุโซนร้อนหรือไต้ฝุ่นมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยน้อยมาก พายุเริ่มเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป และเดือนตุลาคมเป็นเดือนที่พายุมีโอกาสเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยมากที่สุด รองลงไปคือเดือนกันยายน
พายุหมุนเขตร้อนระดับโซนร้อน และไต้ฝุ่นนั้นจะมีชื่อเรียกต่างกันตามบริเวณที่เกิดขึ้น ดังนี้

• พายุไต้ฝุ่น (Typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น

ภาพเหตุการณ์ขณะที่พายุไต้ฝุ่นไหเยี่ยนพัดกระหน่ำประเทศฟิลิปปินส์


• พายุไซโคลน (Cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดีย เหนือ เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ


ภาพของพายุไซโคลนนาร์กีส

• พายุวิลลี-วิลลี (Willy-Willy) เป็นชื่อพายุที่เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศออสเตรเลีย (บริเวณทะเลเมติเตอร์เรเนียนและหมู่เกาะต่างๆ)
ภาพจากดาวเทียมขณะที่พายุวิลลี่-วิลลี่พัดกระหน่ำที่ทวีปออสเตรเลีย

• พายุเฮอร์ริเคน (Hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก

ภาพของพายุเฮอร์ริเคนที่เกิดในสหรัฐอเมริกา 


โดยความเร็วลมของพายุเฮอร์ริเคน แบ่งตามสเกลเฮอร์ริเคนของแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน เป็น ระดับ ดังนี้
ระดับ มีความเร็วลมอยู่ที่ 119-153 กม./ชม.
ระดับ มีความเร็วลมอยู่ที่ 154-177 กม./ชม.
ระดับ มีความเร็วลมอยู่ที่ 178-209 กม./ชม.
ระดับ มีความเร็วลมอยู่ที่ 210-249 กม./ชม.

ระดับ มีความเร็วลมอยู่ที่ 250 กม./ชม.

 พายุโซนร้อน (tropical storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่อ่อนกำลังลง ขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง  

ภาพของพายุโซนร้อน

• พายุทอร์นาโด (tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่าพายุหมุนอื่น ๆ ก่อความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่าน เกิดได้ทั้งบนบก และในทะเล หากเกิดในทะเล จะเรียกว่า นาคเล่นน้ำ (water spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้า แต่หมุนตัวยื่นลงมาจากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดิน มีรูปร่างเหมือนงวงช้าง จึงเรียกกันว่า ลมงวง

ภาพพายุทอร์นาโดหรือพายุงวงช้าง

 อันตรายของพายุแต่ละชนิด
1. ความรุนแรงและอันตรายอันเกิดจากพายุไต้ฝุ่น 
    เมื่อพายุที่มีกำลังขนาดไต้ฝุ่น พัดผ่านที่ใดย่อมทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงทั่วไป เช่น บนบกต้นไม้จะล้ม ถอนราก ถอนโคน จะทำให้เกิดอันตรายจากต้นไม้ล้มทับบ้านเรือน บ้านเรือนพังทับผู้คนในบ้านและใกล้เคียงบาดเจ็บหรือตาย เรือกสวนไร่นาเสียหายหนักมาก เสาไฟฟ้าล้ม สายไฟฟ้าขาด ไฟฟ้าช็อต เกิดเพลิงไหม้และผู้คนอาจเสียชีวิตจากไฟฟ้าดูดได้ ผู้คนที่มีอาคารพักอาศัยอยู่ริมทะเลอาจถูกน้ำพัดพาลงทะเลจมน้ำตายได้ ดังเช่น ปรากฏการณ์ที่แหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช 
    ในทะเลลมแรงจัดมาก คลื่นใหญ่ เรือขนาดใหญ่ๆ ขนาดหมื่นตันอาจจะถูกพัดพาไปเกยฝั่งล่มจมได้ บรรดาเรือเล็กเป็นอันตรายล่มจมสิ้น ไม่สามารถจะต้านความรุนแรงของพายุได้ คลื่นใหญ่ซัดขึ้นริมฝั่งจนทำให้ระดับน้ำขึ้นสูงมากจนท่วมอาคารบ้านช่องริมทะเลได้ บรรดาโป๊ะจับปลาในทะเลถูกทำลายลงโดยสิ้นเชิงโดยคลื่นและลม 

ภาพความรุนแรงของพายุไต้ฝุ่น

2. ความรุนแรงและอันตรายจากพายุโซนร้อน 
          โซนร้อนมีความรุนแรงน้อยกว่าพายุไต้ฝุ่น ฉะนั้น อันตรายอันจะเกิดจากการที่พายุนี้พัดมาปะทะลดลงในระดับรองลงมาจากพายุไต้ฝุ่น แต่ถึงกระนั้นก็ตามความรุนแรงที่จะทำให้ความเสียหายก็ยังมีมากเหมือนกัน ในทะเลลมจะแรงมากจนสามารถจะจมเรือขนาดใหญ่ๆ ได้ ต้นไม้ถอนรากถอนโคนดังพายุโซนร้อนที่ปะทะฝั่งแหลมตะลุมพุก จังหวัดนครศรีธรรมราช  
          ถ้าการเตรียมการรับสถานการณ์ไม่เพียงพอ ไม่มีการประกาศโฆษณาให้ประชาชนได้ทราบ เพื่อหลีกเลี่ยงภัยอันตรายอย่างทั่วถึง ไม่มีวิธีการดำเนินการที่เข้มแข็งในการอพยพ การช่วยเหลือผู้ประสบภัยต่างๆ ในระหว่างเกิดพายุ การสูญเสียก็ย่อมมีการเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สมบัติของประชาชน


ภาพความรุนแรงของพายุโซนร้อน

3. ความรุนแรงและอันตรายจากพายุดีเปรสชั่น 
          พายุดีเปรสชั่นเป็นพายุที่มีกำลังอ่อน ไม่มีอันตรายรุนแรงแต่ทำให้มีฝนตกปานกลางทั่วไป ตลอดทางที่พายุดีเปรสชั่นผ่านไป และมีฝนตกหนักเป็นแห่งๆ พร้อมด้วยลมกรรโชกแรงเป็นครั้งคราว ซึ่งบางคราวจะรุนแรงจนทำให้เกิดความเสียหายได้บ้าง ไม่ปลอดภัยเสียทีเดียว ในทะเลค่อนข้างแรงและคลื่นจัด บรรดาเรือประมงเล็กขนาดต่ำกว่า 50 ตัน ควรงดเว้นออกทะเลเพราะอาจจะล่มลงได้  
          และพายุดีเปรสชั่นนี้เมื่ออยู่ในทะเลได้รับไอน้ำหล่อเลี้ยงตลอดเวลา และไม่มีสิ่งกีดขวางทางลมอาจจะทวีกำลังขึ้นได้โดยฉับพลัน ฉะนั้น เมื่อได้รับทราบข่าวว่ามีพายุดีเปรสชั่นขึ้นในทะเลก็อย่าได้ไว้วางใจว่าจะมีกำลังอ่อนเสมอไปอาจจะมีอันตรายได้เหมือนกัน สำหรับพายุพัดจัดจะลดน้อยลงเป็นลำดับ มีแต่ฝนตกทั่วไปเป็นระยะนานๆ และตกได้มากถึง 100 มิลลิเมตร ภายใน 12 ชั่วโมงซึ่งต่อไปก็จะทำให้เกิดน้ำป่าไหลบ่าจากภูเขาและป่าใกล้เคียงลงมาท่วมบ้านเรือนได้ในระยะเวลาสั้นๆ หลังจากภายุได้ผ่านไปแล้ว  

ภาพความรุนแรงของพายุดีเปรสชั่น

4. ความรุนแรงและอันตรายจากพายุฤดูร้อน 
          พายุฤดูร้อนเป็นพายุที่เกิดขึ้นโดยเหตุและวิธีการต่างกับพายุดีเปรสชั่น และเกิดบนผืนแผ่นดินที่ร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนแต่เป็นพายุที่มีบริเวณย่อมๆ มีอาณาเขตเพียง 20-30 ตารางกิโลเมตร แต่อาจมีลมแรงมากถึง 47 น็อต หรือ 87 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้มีกำลังแรงที่จะทำให้เกิดความเสียหายได้มากเหมือนกันแต่เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง อันตรายที่เกิดขึ้นคือ ต้นไม้หักล้มทับบ้านเรือนผู้คน บ้านเรือนที่ทนกำลังแรงลมไม่ไหวพังทะลายกระเบื้องหลังคาปลิวเป็นอันตรายต่อผู้คน ฝนตกหนักและอาจมีลูกเห็บตกได้ ในกรณีที่พายุมีกำลังแรงลูกเห็บอาจจะตกถูกผู้คนได้รับความบาดเจ็บและบ้านช่องเสียหายได้


การเตรียมการป้องกันอันตรายจากพายุ 
1. ติดตามสภาวะอากาศ ฟังคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาสม่ำเสมอ 
2. สอบถาม แจ้งสภาวะอากาศร้ายแก่กรมอุตุนิยมวิทยา 
3. ปลูกสร้าง ซ่อมแซม อาคารให้แข็งแรง เตรียมป้องกันภัยให้สัตว์เลี้ยงและพืชผลการเกษตร  
4. ฝึกซ้อมการป้องกันภัยพิบัติ เตรียมพร้อมรับมือ และวางแผนอพยพหากจำเป็น  
5. เตรียมเครื่องอุปโภค บริโภค ไฟฉาย แบตเตอรี่ วิทยุกระเป๋าหิ้วติดตามข่าวสาร  
6. เตรียมพร้อมอพยพเมื่อได้รับแจ้งให้อพยพ 


ขอบคุณรูปภาพจาก
https://www.google.co.th/search?q=ความรุนแรงพายุ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น